หลักสูตรวิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ (ต่อเนื่อง)
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Engineering Program in Smart Farm Engineering (Continuing Program)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย: ชื่อเต็ม วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ)
ชื่อย่อ วศ.บ. (วิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ)
ภาษาอังกฤษ: ชื่อเต็ม Bachelor of Engineering (Smart Farm Engineering)
ชื่อย่อ B.Eng (Smart Farm Engineering)

ประเภทของหลักสูตรคือ ปริญญาตรีทางวิชาชีพ เป็นหลักสูตรต่อเนื่อง ระยะเวลาในการเรียน ๒ ปี จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร ๗๙ หน่วยกิต (รับผู้จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ขึ้นไป เน้นสาย เกษตร ช่าง หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง)

ปรัชญาหลักสูตร

ผลิตวิศวกรที่มี ความรู้และทักษะเชิงปฏิบัติ เกี่ยวกับ การเกษตร วิศวกรรม เทคโนโลยีกระบวนการผลิต และการจัดการธุรกิจ เพื่อความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการหรือพนักงานคุณภาพ ในระยะเวลาอันสั้น

การเรียนการสอน มีนำแนวคิดด้านการพัฒนาการผลิตสู่ระบบอัตโนมัติของภาคอุตสาหกรรม และ ระบบ LEAN มาใช้กับกระบวนการผลิตภาคการเกษตร โดย หลักสูตรวิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ตามแนวคิดของ ผศ.ดร.ประสิทธิ์ นางทิน คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์

การจัดการเรียนการสอน เน้นการเรียนแบบ Problem based learning และ Project based learning มีการศึกษาในสถานที่จริงเพื่อเรียนรู้และประยุกต์ใช้ทักษะในทุกวิชา ในภาคฤดูร้อนมีการฝึกปฏิบัติเชิงบูรณาการ ณ สถานที่จริงของผู้ประกอบการหรือองค์กรพันธมิตรเพื่อเพิ่มพูนความชำนาญในการลงมือแก้ปัญหา
ประโยชน์ที่ได้จากการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างสถาบันและองค์กรพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน คือ
o อาจารย์ผู้สอนได้ทำวิจัย
o บริษัทหรือองค์กรมีที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยมาร่วมแก้ปัญหา
o บริษัทหรือองค์กรมีโอกาสได้ทดลองการทำงานของนักศึกษาก่อนการรับเข้าทำงาน
o นักศึกษาได้เรียนจากของจริง

วิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ

มุ่งเพิ่มพูนความรู้และทักษะให้ผู้เรียนครบ ๕ ด้าน

  • เกษตรขั้นพื้นฐาน
  • วิศวกรรมไฟฟ้า เครื่องกล สื่อสาร ความปลอดภัย
  • เทคโนโลยีการผลิตเชิงอุตสาหกรรม เช่น Lean 6-Sigma เป็นต้น
  • เทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ และการจัดการข้อมูล
  • การจัดการโครงการและการเป็นผู้ประกอบการ
โดรนทางการเกษตร
ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
(https://www.kenresearch.com/blog/wp-content/uploads/2020/09/Global-Solar-Electric-Power-Generation-Market.jpg)